ผลิกโฉมวงการภาษาอาหรับในประเทศไทย เป็นครั้งแรกกับโครงการ “เดือนภาษาอาหรับในประเทศไทย” ระหว่างวันที่ 18 – 22 พฤศจิกายน 2024 ณ มหาวิทยาลัยเกริก และการเปิดตัว “Hamza Test“ ศูนย์ทดสอบทักษะภาษาอาหรับมาตรฐานสากลกลางเมืองหลวงกรุงเทพมหานคร จัดโดย ศูนย์ภาษาอาหรับกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก ร่วมกับ King Salman Global Academy For Arabic Language สถาบันภาษาอาหรับยักษ์ใหญ่ แห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

ผลิกโฉมวงการภาษาอาหรับในประเทศไทย เป็นครั้งแรกกับโครงการ “เดือนภาษาอาหรับในประเทศไทย” ระหว่างวันที่ 18 – 22 พฤศจิกายน 2024 ณ มหาวิทยาลัยเกริก และการเปิดตัว “Hamza Test“ ศูนย์ทดสอบทักษะภาษาอาหรับมาตรฐานสากลกลางเมืองหลวงกรุงเทพมหานคร จัดโดย ศูนย์ภาษาอาหรับกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก ร่วมกับ King Salman Global Academy For Arabic Language สถาบันภาษาอาหรับยักษ์ใหญ่ แห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยเกริก ศูนย์ภาษาอาหรับกรุงเทพ วิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ ได้จัดพิธีเปิดโครงการเดือนภาษาอาหรับในประเทศไทย พร้อมจัดพิธีเปิดศูนย์ฮัมซะห์ ศูนย์ทดสอบทักษะภาษาอาหรับ สาขาประเทศไทย ในงานครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ประสิทธิ์ มะหะหมัด เลขานุการจุฬาราชมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมทั้ง ศ.ดร.อิบราฮีม อะบา นุมัย รองเลขาธิการสถาบัน King Salman Global Academy For Arabic Language ท่านอับดุรเราะห์มาน อับดุลอะซีซ อัลซุฮัยบานี เอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทย อาจารย์หวัง ฉาง หมิง (Wang Chang Ming) ประธานกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเกริก ศ.ดร.ซะอัด อัลเกาะฮฺฏอนีย์ หัวหน้าฝ่ายโปรแกรมการศึกษาสถาบัน King Salman Global Academy For Arabic Language อาจารย์ประสาน ศรีเจริญ ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ วิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ ศ.ดร.จรัญ มะลูลีม รองอธิการบดีฝ่ายการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยเกริก รศ.สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย อาจารย์อำพล ตระการฤกษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ภาษาอาหรับมหาวิทยาลัยเกริก รวมทั้งได้รับเกียรติจาก คณะผู้บริหารสถาบันคิงซัลมาน ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษาภาคีเครือข่าย นักวิชาการด้านภาษาอาหรับ ที่ปรึกษาวิทยาลัยฯ และที่ปรึกษาศูนย์ภาษาอาหรับกรุงเทพ ตลอดจนนักเรียน นักศึกษาภาษาอาหรับ ร่วมในงานพิธีเปิดครั้งนี้

ตลอดโครงการ “เดือนภาษาอาหรับในประเทศไทย” ครั้งนี้ มีกิจกรรมต่างๆ มากมายเพื่อพัฒนา ยกระดับภาษาอาหรับ อาทิ การแข่งขันทักษะภาษาอาหรับ การเสวนาพิเศษ การบรรยาย การอบรมภาษาอาหรับให้แก่ครูผู้สอนภาษาอาหรับ การอบรมภาษาอาหรับให้แก่นักเรียน และการแนะนำสื่อการเรียนการสอนภาษาอาหรับในยุคสมัยใหม่

โดยที่การแข่งขันทักษะภาษาอาหรับ แบ่งประเภทเป็น การประกวดคัดลายมือภาษาอาหรับ,การประกวดเล่าเรื่องภาษาอาหรับ,การขับลำนำภาษาอาหรับ โดยที่มีนักเรียนจากสถาบันต่างๆระดับมัธยมปลายมากกว่า 30 สถาบันให้ความสนใจเข้าร่วม ส่วนการเสวนาพิเศษจัดภายใต้หัวข้อ “กลยุทธ์การสอนภาษาอาหรับแก่ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา” โดยได้สะท้อนมุมมองหลากหลายมิติ ทั้งในด้านของความพยายามของราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียในการสอนภาษาอาหรับแก่ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา รวมถึงมิติความท้าทายที่ครูและผู้เรียนภาษาอาหรับต้องเผชิญในฐานะที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาในประเทศไทย เป็นการสร้างการรับรู้ การวางแผนเพื่อยกระดับและพัฒนาภาษาอาหรับให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในด้านของโครงการอบรมภาษาอาหรับตลอดสัปดาห์ให้กับครู และนักเรียนภาษาอาหรับนั้น ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากครู และนักเรียน กว่า 150 คน จากสถาบันและหน่วยงาน 40 แห่ง อบรมให้ความรู้โดย ศ.ดร.ซะอัด อัลเกาะฮฺฏอนีย์ หัวหน้าโปรแกรมการศึกษา สถาบัน King Salman Global Academy For Arabic Language ดร.วาอิ้ล ชุกรี่ และ ดร.อะหมัด อัชชันกีฏีย์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันฯ

ทั้งนี้ อาจารย์อำพล ตระการฤกษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ภาษาอาหรับกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก ยังมุ่งมั่นพยายามปรึกษาหารือร่วมกับ สถาบัน King Salman Global Academy For Arabic Language ถึงแนวทาง ความเป็นไปได้ และโอกาสต่างๆ ในการพัฒนายกระดับภาษาอาหรับในประเทศไทย อาทิ การจัดโครงการอบรมภาษาอาหรับทั้งในประเทศไทย และซาอุดีอาระเบีย โครงการแลกเปลี่ยนระยะสั้น การพัฒนาหลักสูตร และตำราภาษาอาหรับในประเทศไทย การวางมาตราฐานการทดสอบทักษะภาษาอาหรับแก่ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา ตลอดจนการค้นคว้าวิจัยในด้านภาษาอาหรับ

“ศูนย์ฮัมซะฮ์” หรือ “Hamza Test” เพื่อการทดสอบทักษะภาษาอาหรับ สาขาประเทศไทย จะจัดการสอบรอบปฐมฤกษ์ ในวันที่ 27,28 พฤศจิกายนนี้ ณ มหาวิทยาลัยเกริก โดยที่การสอบจะเป็นไปตามมาตราฐานสากลทดสอบทักษะทั้งสี่ด้านของผู้เข้าสอบ อ่าน พูด เขียน ฟัง เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานในแวดวงภาษาอาหรับ นักเรียน นักศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อ ผู้ต้องการพัฒนาภาษาตนเอง ผู้ที่ต้องการความท้าทาย ผู้ที่ต้องการรู้ระดับความชำนาญของตนเอง ตลอดจนผู้ที่ทำงานในแวดวงการศึกษา การสอบนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการชี้วัดมาตราฐานของผู้ใช้ภาษาอาหรับที่ถูกตั้งคำถามและพบปัญหาในการวัดประเมิน ดังกล่าวผูัใช้ภาษาอาหรับ และผู้ใช้บริการบุคลากรภาษาอาหรับจึงมีความต้องการทดสอบวัดระดับทักษะภาษาอาหรับที่เป็นไปตามมาตราฐานสากลดังเช่นภาษาอื่นๆ มาโดยตลอด

ศูนย์ภาษาอาหรับกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก มุ่งสู่การเป็นศูนย์ชั้นนำในการให้บริการภาษาอาหรับในประเทศไทย พร้อมตอบรับความต้องการบริการภาษาอาหรับของสังคมที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันให้แก่ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
#BALC ศูนย์ภาษาอาหรับกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก
#Krirk University #BALC #IICB

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll Up